วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2550

สิ่งที่ได้จากการเรียน(11 ธ.ค. 2550)


วันนี้มาเรียนช้าเลยไม่มีเครื่องเรียน ต้องส่งบทความจากเครื่องเพื่อน ตอนบ่ายไม่ต้องเรียนแต่ต้องทำงานวิจัยจนเสร็จ

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2550

สิ่งที่ได้จากการเรียน 3 ธันวาคม

การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนากระบวนการคิดประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก คือ
ผู้เรียน ครูสอน เนื้อหาวิชาและสิ่งแวดล้อม
เป็นการเรียนที่อยู่ในรูปแบบของการถ่ายทอดความรู้จากครูสู่เด็ก เด็กรู้จักใช้เหตุผลมากขึ้น
และได้เรียนรู้เกี่ยวกับการคิดเชิงอนุรักษ์
และให้หานิทานและเพลงหรือคำคล้องจองทางคณิตศาสตร์และให้นำเสนอโครงงานวิจัย

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2550

เพลงคณิตศาสตร์

เพลง ไข่แตก

ทำนอง เพลงปูไข่ไก่หลง

เนื้อร้อง ปรีชา เนาว์เป็นผล



เด็กชายเดชาชื้อไข่มาตั้ง.......ฟอง



โอ้พ่อนวลละอองเหลียวมองน้องตากลม



เดินตกสะพาน กระดานกระทบไข่ตั้งโครม



......ฟองแตกแล้วจม เหลือไข่กลมอยู่แค่......ฟอง

ตารางประจำวันของสาธิตอนุบาลจันเกษมแบบเป็นทางการ



7.30-08.15 น. รับเด็กเป็นรายบุคคล

8.15-08.30 น. เข้าแถวเคารพธงชาติ

8.30-08.50 น. สำรวจการมาโรงเรียน สนาทนา ตรวจสุขภาพ

8.50-09.10 น. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

9.10-10.00 น. พักเข้าห้องน้ำ ล้างมือ รับประทานอาหารว่างเช้า

10.00-10.30 น. กิจกรรมในวงกลม

10.30-11.00 น. กิจกรรมสร้างสรรค์ การเล่นตามมุม

11.00-12.00 น. ล้างมือ รับประทานอาหารกลางวัน

12.00-14.00 น. นอนพักผ่อน

14.00-14.20 น. เก็บที่นอน เข้าห้องน้ำ ล้างหน้า

14.20-14.40 น. รับประทานอาหารว่างบ่าย

14.40-15.00 น. เกมการศึกษา

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้วันนี้ วันที่ 3/12/50


วันนี้เรียนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนากระบวนการคิด และเรียนเกี่ยวกับการคิดเชิงอนุรักษ์ อาจารย์ให้หานิทาน และ เพลง หรือคำคล้องจองทางคณิตศาสตร์มาส่ง ไม่ให้แต่งเองแล้วเพราะถ้าแต่งเองมันจะไม่ค่อยเข้ากับเนื้อหาทางคณิตศาสตร์สักเท่าไหร่ และอาจารย์ต้องคอยมาดูของแต่ละคนใหม่เลยต้องหาเอาน่าจะดีกว่าที่จะต้องมาแต่งเองแต่งไม่ถูกต้อง

ตารางประจำวันของสาธิตอนุบาลจันเกษมแบบเป็นทางการ

ตารางกิจวัตรประจำวันของสาธิตอนุบาลจันทรเกษมแบบเป็นทางการ

7.30-08.15 น. รับเด็กเป็นรายบุคคล
8.15-08.30 น. เข้าแถวเคารพธงชาติ
8.30-08.50 น. สำรวจการมาโรงเรียน สนาทนา ตรวจสุขภาพ
8.50-09.10 น. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
9.10-10.00 น. พักเข้าห้องน้ำ ล้างมือ รับประทานอาหารว่างเช้า
10.00-10.30 น. กิจกรรมในวงกลม
10.30-11.00 น. กิจกรรมสร้างสรรค์ การเล่นตามมุม
11.00-12.00 น. ล้างมือ รับประทานอาหารกลางวัน
12.00-14.00 น. นอนพักผ่อน
14.00-14.20 น. เก็บที่นอน เข้าห้องน้ำ ล้างหน้า
14.20-14.40 น. รับประทานอาหารว่างบ่าย
14.40-15.00 น. เกมการศึกษา

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนวันนี้ 26/11/50



จากสิ่งที่ได้จากวันนี้คือ การจัดกิจกรรมตารางประจำวันของเด็กอนุบาล การจัดกิจกรรมแบบเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ และเรียนรู้เกี่ยวกับการบวก ลบ จำนวน การเพิ่มลดจำนวนจากการใช้นิทานเป็นสื่อ การเล่าเรื่อง การร้องเพลงเกี่ยวกับคำคล้อง

ความคิดทางเรขาคณิต
รูปทรงเรขาคณิต เป็นรูปที่ประกอบด้วยจุด เส้นตรง ส่วนโค้งต่าง ๆ และถ้าอยู่ในระนาบเดียวกัน เราก็เรียกว่ารูประนาบ แต่ถ้าหากเป็นรูปทรงที่มีความหนา ความลึก ความสูง เราก็เรียกว่ารูปสามมิติ
หากเราหยิบภาชนะต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราขึ้นมาจะพบว่าประกอบด้วย รูปทรงเรขาคณิต หลากหลายรวมกัน ความคิดเกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิตในแนวทางคณิตศาสตร์มีพัฒนาการมายาวนานหลายพันปีแล้ว
รูปทรงเรขาคณิตแบบต่าง ๆ
รูปทรงกลม ลูกบอล แก้วน้ำ ภาชนะถ้วยชามต่าง ๆ ประกอบเป็นรูปร่างแบบต่าง ๆ ดังนั้นการจะอธิบายหรือออกแบบสิ่งต่าง ๆ จำเป็นต้องอาศัยทฤษฎีทางเรขาคณิต
ปัจจุบันประเทศไทยกำลังจะมีรถไฟใต้ดิน ลองนึกดูว่า ถ้าจะเจาะอุโมงค์ จากที่หนึ่งให้ทะลุหรือชนกับการเจาะมาจากอีกแนวหนึ่งได้ ต้องใช้หลักการทางเรขาคณิตมาช่วย
นักคณิตศาสตร์ เริ่มจากการกำหนดจุด จุดซึ่งไม่มีขนาด ไม่มีมิติ และถ้าเราให้จุดเคลื่อนที่แนวทางการเคลื่อนที่ของจุด ก่อให้เกิดเส้น
หากหยิบแผ่นกระดาษมาหนึ่งแผ่น ผิวของแผ่นกระดาษเรียกว่าระนาบ รูปที่เกิดบนกระดาษนี้เรียกว่ารูประนาบ และถ้าดูที่ผิวของถ้วยแก้วที่เป็นรูปทรงกระบอก เราก็จะเห็นผิวโค้ง ซึ่งเราอาจมองรูปผิวโค้งของถ้วยแก้วในลักษณะสามมิติ
จุดไม่มีมิติ
เส้นตรงมี 1 มิติ
ระนาม 2 มิติ
กล่องมี 3 มิติ
มิติต่าง ๆ ของรูปทรงเรขาคณิต
ในยุคสมัยบาบิโลน มีหลักฐานชัดเจนว่าได้มีการพิสูจน์ให้เห็นถึงทฤษฎีความสัมพันธ์ของด้านทั้งสามของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก การพิสูจน์กฎเกณฑ์นี้มีมาก่อนที่พีธากอรัสเกิดถึงกว่าพันปี (พีอากอรัสเกิดเมื่อ 572 ก่อนคริสตกาล) แต่พีธากอรัสได้พิสูจน์และแสดงหลักฐานต่าง ๆ ให้โลกได้รับรู้ และต่อมาได้ยอมรับว่าทฤษฎีบทที่ว่าด้วยเรขาคณิตที่เกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก เรียกว่า
ทฤษฎีบทพีธากอรัส

บทความคณิตศาสาตร์สำหรับเด็ก

การนับ คือการกระทำทางคณิตศาสตร์โดยใช้การบวกหรือการลบด้วยหนึ่งซ้ำๆ กัน ซึ่งมักใช้ในการหาคำตอบว่ามีวัตถุอยู่เท่าใด หรือเพื่อกำหนดจำนวนวัตถุที่ต้องการ โดยเริ่มจากหนึ่งสำหรับวัตถุชิ้นแรก และกระทำต่อไปบนวัตถุที่เหลือในลักษณะฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่ง (injective function) หรือใช้นับวัตถุในเซตอันดับดี (well-ordered object) หรือเพื่อหาจำนวนเชิงอันดับที่ (ordinal number) ของวัตถุ หรือเพื่อหาวัตถุบนจำนวนเชิงอันดับที่ การนับมักถูกใช้เป็นการสอนความรู้เกี่ยวกับชื่อจำนวนและระบบจำนวนให้กับเด็ก ในทางคณิตศาสตร์ การนับ และ การคณานับ สามารถหมายถึงการหาจำนวนของสมาชิกในเซตจำกัด (finite set)
ในบางครั้งการนับก็เกี่ยวข้องกับตัวเลขอื่นที่ไม่ใช่หนึ่ง ตัวอย่างเช่น การนับจำนวนเงินหรือเงินทอน เราอาจนับทีละสอง (2, 4, 6, 8, 10, 12, ...) หรือนับทีละห้า (5, 10, 15, 20, 25, ...) ก็ได้ เป็นต้น
มีหลักฐานทางโบราณคดีว่า มนุษย์เคยใช้การนับมาตั้งแต่เมื่อ 50,000 ปีก่อนเป็นอย่างน้อย
[1] มีการใช้งานเป็นหลักในอารยธรรมโบราณเพื่อติดตามและบันทึกข้อมูลทางเศรษฐกิจเช่น หนี้สินหรือเงินทุน (การบัญชี) พัฒนาการของการนับก่อให้เกิดสัญกรณ์ทางคณิตศาสตร์และระบบเลขต่างๆ

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

สิ่งที่รับจากการเรียนคณิตสาสตร์สำหรับเด็ก วันที่ 19/11/50

ได้รู้ถึงทักษะกระบวนการสอนคณิตศาสตร์และจุดมุ่งหมายของการสอนขอบข่ายของหลักสูตรในระดับปฐมวัย จากการสอนการจัดกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัยการนับตัวอย่างกิจกรรมเพื่อฝึกการนับการแยกประเภท การจับคุ่ การเปรียบเทียบ การคงที่ด้านปริมาณ การประเมินผลการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก คือ การสนทนาพูดคุยขณะทำกิจกรรม

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

สิ่งที่ได้จากการเรียนในวันที่ 12 พ.ย. 2550


สิ่งที่ได้จากการเรียนในวันที่ 12 พ.ย. 2550 เรียนเรื่อง เราสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยเพื่ออะไร เพื่อให้ไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน คณิตศาสตร์สำหรับเด็กต้องมีเนื้อหาที่ง่าย เด็กเรียนแล้วมีความสุข เหมาะสมกับพัฒนาการ สอดคล้องกับการเรียนรู้
ความหมายทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์เพื่อให้เด็กนับ แทนค่า เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้